วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

อาหารที่ใช้ทั่วไปในโรงพยาบาล  หมายความถึง อาหารที่โรงพยาบาลทั่วไปจัดบริการให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเฉพาะโรค ลักษณะของอาหารจะเหมือนคนปกติที่ไม่เจ็บป่วยทั่วๆไป อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะของอาหารบ้างเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและสภาพของผู้ป่วยดังนั้นในการปฏิบัติ อาหารที่ใช้บริการทั่วไปในโรงพยาบาลจึงแบ่งตามลักษณะของอาหาร ได้แก่ vอาหารธรรมดา (regular diet, normal diet or dinary diet) อาหารธรรมดาย่อยง่าย(light diet) อาหารอ่อน (soft diet or mechanical soft diet) อาหารน้ำข้น (full liqid diet) และอาหารน้ำใส (clear diet) โดยมีรายละเอียดดังนี้
อาหารธรรมดาหรืออาหารปกติ (regular diet, normal diet or ordinary diet)
      ลักษณะทั่วไปของอาหารชนิดนี้จะเหมือนอาหารของคนปกติรับประทาน ทั้งในด้านของคุณลักษณะและคุณค่าของอาหาร สำหรับรสชาดนั้นเปลี่ยนแปลเล็กน้อย โดยพยายามปรุงรสอ่อนกว่าปกติที่คนทั่วไปรับประทาน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด หรืออาหารที่จะทำให้มีปัญหาต่อระบบขับถ่าย เป็นต้น
      ตัวอย่างอาหารที่รับประทานได้ มีดังนี้
ข้าวสวยที่หุงนุ่มๆ ไม่แข็งกระด้าง
แกงชนิดต่างๆรวมทั้งต้มจืด ต้มยำ และเเกงกะทิ
ผัดเผ็ดต่างๆ
เนื้อสัตว์ต่างๆที่ทำให้สุกแล้ว
ไข่ชนิดต่างๆ
เครื่องจิ้มต่างๆ รวมทั้งน้ำพริก หลน
ผักสด ผลไม้สด และผลไม้กระป๋อง
ขนมหวานชนิดต่างๆ

อาหารธรรมดาย่อยง่าย (light diet)
      ลักษณะของอาหารจะอ่อนนุ่มกว่าอาหารธรรมดา แต่เปื่อยนุ่มน้อยกว่าอาหารอ่อน หรือจะกล่าวว่าลักษณะกึ่งกลางระหว่างอาหารธรรมดาและอาหารอ่อน เช่น ข้าวสวยในอาหารธรรมดา จะเป็นข้าวนึ่งแฉะๆ สำหรับอาหารธรรดาย่อยง่าย กับข้าวบางอย่างสามารถรับประทานได้เช่นเดียวกับอาหารธรรมดา หรืออาหารอ่อน ตัวอย่างอาหารธรรมดาย่อยง่ายที่รับประทานได้ดังนี้
ข้าว อ่อน นุ่ม หรือเเฉะไม่เเข็งกระด้าง
เนื้อสัตว์ เปื่อย นุ่ม ไม่ติดพังพืด
ไข่ ทำให้สุกด้วยการ ลวก ต้ม ตุ๋น หรือเจียว
ผัก ต้มให้สุก เปื่อย งดผักสดทุกชนิด
ผลไม้ ผลไม้สุกที่อ่อนนุ่ม เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก มะม่วงสุก
ไขมัน ครีม นม เนย
ของหวาน ทุกชนิดที่มีลักษณะนุ่ม ย่อยง่าย ไม่หวานจัด ไม่มีกะทิเข้มข้นน
เครื่องดื่ม ชา กาแฟ น้ำน น้ำหวาน น้ำผลไม้
อื่นๆ เครื่องปรุงที่ไม่มีรสจัด เช่น ซอสมะเขือเทศ เกลือ น้ำปลา

อาหารอ่อน ( soft or mechanical soft diet)
     อาหารอ่อนเป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อน นุ่ม เปื่อย และย่อยง่าย เนื้อสัตว์ ผักสดที่เเข็ง และย่อยยากต้องนำมาสับให้ละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้สุก เคี่ยวให้เปื่อย หรือบดเอาใยออก งดผักผลไม้สด(ยกเว้นมะละกอสุก กล้วยสุก และมะม่วงสุก)อาหารหมักดอง อาหารที่ใส่พริกและอาหารรสจัดทุกชนิด อาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่ให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคี้ยว และไม่สามารถรับประทานอาหารธรรมดาได้หรือผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างพักฟื้น เช่นผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยหลังคลอด เป็นต้น
     ข้าวที่ใช้สำหรับอาหารประเภทนี้คือ ข้าวต้ม โจ๊ก กับข้าวที่รับประทานกับข้าวต้ม ต้องมีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อย ดังนั้นกับข้าวบางชนิดที่ใช้รับประทานกับข้าวต้มของคนทั่วไปจึงไม่ควรนำมาใหเผ้ป่วยที่รับประทานอาหารอ่อน และกจะเป็นข้อผิดพลาดในการจัดอาหารอ่อน ที่จัดกับข้าวให้ไม่ถูกต้อง อาหารอ่อนที่จัดจึงควรมีลักษณะดังนี้
ข้าว ต้มเปื่อย และ บด เส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดต่างๆ หัวมันไม่มีเปลือก ๆไม่มีใย
เนื้อสัตว์ บดหรือสับ เลาะเอาพังผืดและเอ็นออก
ไข่ ทำให้สุกด้วยการต้ม ลวก ดาว ตุ๋นหรือเจียว
ผัก ต้มให้เปื่อย กรองเอาใยออก ถ้าเป็นผักใบ ถ้ามีเมล็ด เปลือก ต้องเอาเมล็ดแปลือกออก
ผลไม้ กล้วยสุก มะละกอสุก มะม่วงสุก ส่วนผลไม้ที่เเข็งควรต้มและกรองเอาใยออก
ไขมัน เนย ครีม น้ำนม
ของหวาน ขนมทุกชนิดที่มีลักษณะนุ่ม กินง่าย ย่อยง่าย ไม่หวานจัด ไม่มีกะทิเข้มข้น
เครื่องดื่ม ชา กาแฟ โกโก้ น้ำนม น้ำหวาน น้ำข้าว น้ำผลไม้ที่ผ่านการกรองแล้ว

อาหารน้ำ (liquid diet)
     อาหารน้ำเป็นอาหารที่จัดให้แก้ผู้ป่วยที่ต้องการอาหารย่อยง่าย ไม่มีกาก รับประทานได้โดยไม่ต้องเคี้ยว เเละเป็นอาหารที่จัดให้แก่ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เพื่อเป็นการททดสอบการทำงานของระบบทางเดินอาหาร อาหารน้ำเเบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. อาหารน้ำใส (clear liquid diet)
      เป็นอาหารที่มีลักษณะใส ประกอบด้วยน้ำและคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ เเพทย์มักจะสั่งให้เเก่ผู้ป่วยภายหลังจากการผ่าตัด และให้ในระยะเวลาสั้นๆ 1-2 วันเท่านั้นคุณค่าของอาหารน้ำใสค่อนข้างต่ำ ถ้าให้ในระยะเวลานานจะทำให้ผู้ป่วยขาดพลังงานและสารอาหารได้
2. อาหารน้ำข้น (full liquid diet)
     เป็นอาหารน้ำที่มีลักษณะข้นกว่าอาหารน้ำใส เพราะมีการบดผัก เนื้อสัตว์ผสมลงไปในอาหารนั้นด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามพลังงานและสารอาหารก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แพทย์จึงสั่งให้เเก่ผู้ป่วยในระยะเวลาสั้น เช่นเดียวกับอาหารน้ำใส
2. อาหารน้ำข้น (full liquid diet)